วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

สมาธิ


สมาธิ


หมายถึง ความตั้งใจมั่น สมาธินี้มีหลายระดับ คือ

ขณิกสมาธิ
แปลว่า   การตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย  มีความสามารถที่จะทรงอารมณ์สมาธิได้เพียง ชั่วขณะ เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็ฟุ้งซ่าน เผลอคิดนู่นคิดนี่ไปเรื่อย อารมณ์จิตยังไม่พบเห็นความสว่างไสว เป็นอารมณ์ปกติของคนทั่วไป ที่เริ่มทำสมาธิใหม่ๆ ภาวนาไปได้นิดนึง ก็เผลอไปคิดนู่น คิดนี่ เสียจนเพลิดเพลิน



อุปจาระสมาธิ
แปลว่า  การตั้งใจมั่นได้ในระดับปานกลาง  มีความสามารถทรงอารมณ์สมาธิได้นานพอสมควร มีอารมณ์สว่างไสวพอใช้ได้ เริ่มใช้ในการฝึกทิพย์จักขุญาณได้
เมื่อเข้าถึง อุปจาระสมาธิจะมีอาการดังนี้
1.  วิตก  มีการกำหนดจิตนึกถึงในคำภาวนา หรือ ภาพที่เราใช้ฝึก อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลาพอสมควร
2.  วิจาร  มีการใคร่ครวญถึง คำภาวนา หรือ ภาพที่เราใช้ฝึก ว่ามีอาการเป็นอย่างไร เคลื่อนไหว หรือ หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง พินิจพิเคราะห์ตามไปตลอดเวลา
3.  ปีติ  เกิดมีเกิดมีความรู้สึก อิ่มเอิบใจ ไม่เบื่อหน่ายในการทำสมาธิ ไม่อยากหยุด ไม่อยากเลิก อารมณ์ผ่องใส สว่างอาจเห็นภาพแสงสีต่างๆแต่ไม่นานนักก็หายไป ยังมีสิ่งที่ควรรู้คคือ อาการของปีติ มี 5 อย่าง คือ
                      1.  ขนลุกขนชัน  หรือ ขนพองสยองเกล้า
                      2.  น้ำตาไหล อยู่ดีๆก็ไหลออกมาเอง ด้วยความสุข
                      3.  ร่างกายมีอาการโยก โคลงไปมา หรือ เอียงข้าง หรือหมุน
                      4.  รู้สึกว่าร่างกายลอยขึ้น บางรายอาจลอยไปได้ไกล บางรายลอยสูง
                      5.  มีอาการซู่ซ่า บางรายรู้สึกร่างกายโปร่ง บางรายรู้สึกร่างกายหนาหนักแน่น บางรายรู้สึกร่างกายใหญ่โต
          อาการของปีติทั้ง ห้าอย่างนี้ อาจเกิดบางอย่าง หรือ หลายอย่างก็ได้ ไม่แน่นอนนัก แต่มีจุดสังเกตุคือ จะมีอารมณ์จิต ชุ่มชื่น เบิกบาน มีความสุข มีจิตแนบแน่นในสมาธิ ไม่หวั่นไหว
4.  สุข  มีความสุขชื่นบาน รื่นเริงหรรษา มีสมาธิตั้งมั่นมาก ไม่รู้สึกถึงอาการปวดเมื่อย ยุงกัดก็ไม่เจ็บ มีความสว่างไสวในทางจิตใจ





ฌาณ
แปลว่า   การเพ่ง   คือ การเพ่งอารมณ์ในกรรมฐานที่เรากำลังทำอยู่นั้น
มีอยู่ด้วยกัน 8 ขั้น คือ รูปฌาณ ขั้นที่ 1-4 และ อรูปฌาณ อีก 4 ขั้น รวมเป็น 8  
จะได้อธิบายละเอียดในเรื่องของ ฌาณในบทต่อๆไป

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

เจโตปริยญาณ ดูกายในกายได้

 เจโตปริยญาณ ดูกายในกายได้

 เมือดูสีของจิตได้ ก็ย่อม ดูกายในกายได้
    ในระดับต้น พระพุทธองค์สอนให้ดูกายในกาย คือ อวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆในกายของเรา และผู้อื่น  แต่สำหรับ ญาณนี้ ใช้ประโยชน์ในการดู กายที่ซ้อนอยู่ในกายนี้อีกที กายที่ว่านี้จัดเป็น อทิสมานกาย ไม่อาจดูด้วยตาเนื้อธรรมดาเห็นได้ ต้องดูด้วยญาณนี้เท่านั้น  เราคงเคยฝันกันทุกคน ฝันว่าทำนู่นทำนี่ ไปนู่นไปนี่ นั่นคือการปรากฏตัวของ กายในกายที่ว่านี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาที่กายเนื้อหลับ กายเนื้อจะหมดกำลังที่จะควบคุมกายในกายได้ กายในกายชนิดนี้จึงออกไปทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อตื่นขึ้นมาจึงมัก จะจำเหตุการณ์ ที่ฝันไปได้ หรือ รู้สึกว่าได้กระทำไปตามที่ฝันจริงๆ เช่น วิ่งจนเหนื่อย




         กายในกายนสี้เเบ่งได้เป็น 5 ขั้น คือ
1.  กายอบายภูมิ  จะมีรูปร่างลักษณะ คล้ายคนขอทาน มีลักษณะเศร้าหมอง ซูบซีด ไม่สดใส คนที่มีกายในประเภทนี้ ตายเมื่อไหร่ ไปอบายภูมิ


2.  กายมนุษย์  จะมีรูปร่างลักษณะ ค่อนข้างผ่องใส มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่ในแต่ละคน จะมีกายมนุษย์ที่แตกต่างกันบ้าง ที่มีสัดส่วน ผิวพรรณ และ ความสวยสดงดงามที่ไม่เหมือนกัน คนพวกนี้ตายแล้ว จะกลับไปเกิดเป็นมนุษย์ อีก


3.  กายทิพย์ คือ กายเทวดาชั้น  กามาวจร จะมีลักษณะ ที่ผ่องใส ละเอียด แต่ถ้าเป็นระดับ อากาศเทวดา หรือ รุกขเทวดาขึ้นไป จะมีมงกุฏประดับบนศรีษะ มีเครื่องประดับที่สวยสดงดงาม คนที่มีกายในเช่นนี้ ตายไป จะไปเกิดเป็น เทวดาในกลุ่มของสวรรค์ชั้น กามาวจร


4.  กายพรหม  จะมีรูปร่างคล้ายเทวดา แต่มีผิวพรรณทีละเอียด ละออ กว่า มองดูใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับเป็นสีทอง มีมงกุฏ ท่านผู้มีกายในแบบนี้ ตายแล้วไปเกิดเป็น พรหม


5.  กายแก้ว  บางที่เรียกกายธรรม บางที่เรียก ธรรมกาย เป็นกายของพระอรหันต์ ดูเป็นแก้วีประกายพรึกสดสวย ใสสะอาด สว่างอย่างยิ่ง  ท่านผู้มีกายในอย่างนีี้ ตายแล้วเป็นพระอรหันต์ ไปนิพพานไม่กลับมาเกิดอีก


           นี่ก็เป็นการกล่าวตามคำของครูบาอาจารย์ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ถ้า อยากทราบว่าเป็นดังนี้จริงหรือไม่ก็ ต้องลงมือปฏิบัติดูเอาเถิด
            แต่ที่สำคัญคือ ท่านให้หมั่นดูให้รู้อารมณ์จิตของตนเอง กายในของตนเอง ว่าดีพอหรือยัง ถ้าพบว่ายังไม่ดี ให้ดูว่ายังบกพร่องตรงไหน รีบแก้ไข จะเป็นประโยชน์มากที่สุด 

สีของจิต

 สีของจิต

            ท่านเพื่อนนักปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลาย วันนี้เป็นวันที่ 3 ม.ค 2558 สำหรับวันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง สีของจิต สำหรับท่านที่สามารถฝึก กสิน 1 ใน 3 อย่างที่เป็นต้นกำเนิดของทิพย์จักขุญาณ ได้ในระดับดีแล้ว  เราสามารถใช้ เจโตปริยญาณ ดูสีของจิตได้ด้วย  บางแห่ง บางตำรา บางครูบาอาจารย์ อาจเรียกว่า น้ำเลี้ยงของจิต  ซึ่งจะมีสีออกมา โดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ  สีของจิตนี้จะช่วยบอกถึงอาการของจิต ว่า เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์อย่างไร อารมณ์ขุ่มมัวหรือผ่องใส
     
สีของจิตมีดังนี้

1.  สีแดง  คือ จิตมีความยินดี ดีใจ ด้วยผลอย่างใดอย่างหนึ่ง


2.  สีดำ  คือ จิตมีอารมณ์โกรธ อาฆาต พยาบาท จองเวร มีทุก์เพราะ ความปราถณา ไม่สมหวัง หรือ ทุกข์เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง

3.  สีคล้ายน้ำล้างเนื้อ คือ จิตที่มีความผูกพันธ์ ลุ่มหลง เสียดาย ห่วงใยในทรัพย์สิน บุคคล และ สิ่งมีชีวิต

4.  สีคล้ายน้ำต้มถั่ว หรือ น้ำซาวข้าว  คือ จิตที่มีความวิตก กังวล ไม่อาจที่จะตัดสินใจอะไรลงไปได้อย่างเด็ดขาด
5.  สีขาว  คือ จิตที่มีอารมณ์เชื่อง่าย ใครพูดใครบอกอะไรก็เชื่อ โดยขาดการไตร่ตรองว่าถูกต้องหรือไม่ ดีเพียงใด

6.  สีผ่องใส คล้ายเพชร  คือ จิตที่ บริสุทธิ์ ผ่องใน ไม่มีความกังวล มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันคน และเหตุการณ์ต่างๆ เข้าใจอะไรง่าย เรียนเก่ง ความจำดี


จะเห็นได้ว่า จิตของแต่ละคน มีสีแตกต่างกัน เพิ่มเติมนึดหนึ่งคือ หลวงพ่อ ตุ๊ เจ้าป่า วัดพระยายมราช อาจารย์ อีกรูปหนึ่งของข้าพเจ้าเคยบอกว่า ถ้าดูพระ เห็นพระองค์ใด มีจิตสีดำ แสดงว่า พระองค์นั้นต้องปราชิก  ลงอเวจีมหานรกแน่นอน
 
หมายเหตุ ภาพที่นำมาลงเป็นเพียงภาพประกอบให้มีสีสรรค์ เท่านั้น

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

เจโตปริยญาณ


เจโตปริยญาณ



         
ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย  วันนี้เป็นวันที่ 2 ม.ค. 2558  สำหรับวันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง เจโตปริยญาณ สำหรับญาณนี้ คือ  ญาณที่ทำให้เราสามารถรู้จิตใจคน รู้อารมณ์จิต ของคน และสัตว์  ว่าขณะนี้ มีจิตคิดอย่างไร  มีสุข หรือทุกข์ อย่างไร จิตของเขาเป็นกุศลหรือ อกุศล เป็นจิตผู้ทรงคุณอะไร และ ใช้สำหรับ รู้จิตเราเองได้ด้วยว่า ขณะนี้มีกิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตใจเรา หรือ ไม่มีกิเลสอะไรเกิดขึ้น




           ส่วนการที่จะสามารถล่วงรู้จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมอื่นๆ ว่า มีจิตอยู่ในระดับใด ได้มรรคผลอะไร เราก็ต้องเป็นผู้มีจิตอยู่ในระดับเดียวกัน หรือ สูงกว่า หากเรามีระดับฌาณต่ำกว่า จะ ไม่สามารถรู้จิตของผู้มีระดับฌาณสูงกว่าได้ พระท่านว่า นี่เป็นกฏตายตัว ดังนั้น เมื่อเราตรวจแล้วไม่อาจทราบว่าท่านผู้นั้น มีจิตคิดอย่างไร หรือระดับจิตอยู่ระดับไหน ก็ให้คิดไว้ก่อนว่า ท่านผู้นี้ ต้องมีระดับจิตที่สูงกว่าเรา ก็จงอย่าพยากรณ์ระดับจิตท่าน การพยากรณ์ผู้ทรงคุณสูงกว่า  ย่อมจะผิดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ อาจทำให้เราปฏิบัติกรรมฐานอย่างไร้ผล ทำกรรมฐานเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้นไม่ก้าวหน้า พระท่านว่า หากเรากล้าไปพยากรณ์ผู้ทรงคุณธรรมระดับสูงกว่า ถ้าท่านเป็นระดับอริยะ  เป็นกรรมหนักมาก ในโทษที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ ควรละเว้นให้เด็ดขาด

       สำหรับวิธีฝึกญาณนี้ ให้ไปดูที่  วิธีฝึก อาโลกกสิน เพื่อให้ได้ทิพย์จักขุญาณ