กายคตานุสสติกรรมฐาน
คือ การตามนึกถึงสภาวะความเป็นจริงใจในกาย
ก่อนเจริญกายคตานุสสติกรรมฐาน ให้ท่านตั้งสมาธิตามที่เคยทำได้ชำนาญเสียก่อนให้จิตเข้าถึงความสุขที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ ใครถนัดทำแบบไหนก็เอาตามเดิมนั้น จิตก็จะทรงอยู่ในอารมณ์อยู่ในสมาธิกองนั้น เมื่อคลายจากสมาธิที่ทำนั้น มาทำการพิจารณาในกายคตานุสสติกรรมฐานก็จะทรงอารมณ์ได้ดี ได้นานผลการพิจารณาก็จะเห็นเด่นชัดด้วยปัญญา และ ทรงตัว
การปฏิบัติด้วยวิธีนี้ มีความสำคัญสูง เพราะเมื่อจิตทรงตัวแล้ว การพิจารณาด้วยปัญญาจะเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะกรรมฐานกองนี้เป็นการตัดสักกายทิฐิ ซึ่งเป็น สังขโยชน์ตัวแรกโดยตรง ได้แก่การพิจจารณาในเรื่องของกายให้สามารถละความยึดมั่น ถือมั่ั่น ในกายได้ เป็นการก้าวไปสู่ความเป็นอริยะบุคคล
พระพุทธเจ้ากล่าวถึงร่างกายนี้ ว่า มาจากธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
ธาตุดิน เช่น อวัยวะน้อยใหญ่ ที่เป็นชิ้นเป็นก้อน แขน ขา เป็นต้น
ธาตุน้ำ เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อมูก
ธาตุลม เช่น ลมที่พัดขึ้นเบื้องบนในร่างกาย ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในใส้ ลมเข้าไปตามเนื้อต้ว ลมหายใจ
ธาตุไฟ เช่น ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไฟที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ไฟที่ทำให้ร่างกายกระวนกระวาย ไฟที่ทำให้อาหารย่อย หรือ ไฟสภาพของความร้อน
วิธีกำหนดพิจารณาร่างกายนี้ ท่านให้พิจารณาว่า เป็นเพียง ธาตุทั้ง 4 มาประชุมรวมกันเท่านั้น มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ในเมื่อเราไม่มีในกาย กายก็จึงไม่มีในเรา การประกอบด้วยธาตุ 4 แล้วแบ่งเป็น อวัยวะ 32 อย่าง พยายามค่อยๆคิดไปทีละอย่าง เช่น
ผม มันเป็นผมของเราจริงหรือเปล่า ถ้าเป็นผมเราจริง เราต้องการให้ยาว ให้สั้น อยู่แค่ไหน มันก็ต้องแค่นั้นตามใจเราโดยไม่ต้องไปตัด ไม่ต้องการให้เปลี่ยนสีจากดำเป็น เทา เป็น ขาว มันก็ต้องไม่เปลี่ยน เราไม่ต้องการให้มันสกปรก มันก็ต้องสอาดอยู่เสมอ โดยที่เราไม่ต้องไปดูแลมัน ถ้าเราไม่ตัดแต่ง ไม่สระ ไม่หวี มันจะสะอาดหรือ สกปรก ดูสิว่าผมมันตามใจเรารึเปล่า เราบังคับมันได้ไหม เราก็จะทราบได้ว่า ผมมันไม่ได้อยู่ภายในอำนาจของเรา
อวัยวะน้อยใหญ่อื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ให้ค่อยๆ พิจารณาไปตามแบบนี้ ให้ครบ 32 ได้ยิ่งดี นึกถึงสภาพอวัยวะภายในร่างกาย ว่าสิ่งเหล่านี้ มันสะอาด หรือสกปรก มันมีสภาพเป็นอย่างไร จะเห็นว่า ทุกอย่างเราควบคุมมันไม่ได้ มันมีสภาพตามแต่ที่มันจะเป็นไปโดยธรรมชาติ และ ถ้าหากมีการผ่าศพเราลองไปดู จะเห็นว่ามีแต่เลือด น้ำเหลือง และเทะไปหมด ตรงไหนมันน่ารัก น่าจับต้องบ้าง น่าเอามาลุบมาคลำ เอามาเก็บรักษาบ้าง
เรามาลองดูคนที่มีสภาพสกปรก ผมเผ้าไม่ได้หวี ปล่อยยุ่งเหยิงพะรุงพะรัง น้ำไม่ได้อาบเต็มไปด้วยฝุ่น ขี้เหงื่อขี้ไคลโรคผิวหนัง เสื้อผ้าไม่ได้เปลี่ยนสกปรกมอมแมม มันน่ารักน่าดูไหม เล็บดำไม่ได้ตัด ฟันไม่แปรงเหลืองอ๋อย และ ถ้าเป็นทรากศพที่ท้องฉีกใส้ทะลัก อวัยวะน้อยใหญ่ทะลัก ตับ ม้าม หัวใจ ปอด ไหลออกมาเลอะเทอะ มันน่ารักไหม อาหารใหม่ อาหารเก่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันก็อยู่ในร่างกายเรา แล้วท่านว่า สิ่งเหล่านี้ที่อยู่ในกายเรามันสะอาดหรือสกปรก นึกให้เห็นว่า ร่างกายเรามันก็คล้ายถุง ใส่เนื้อในอวัยวะ เต็มไปด้วยความสกปรก เปิดถุงออกมาก็มีแต่ความเหม็นคาว เรารู้สึกว่ามันน่ารัก หรือน่ารังเกียจ
เสลด เสมหะ น้ำลาย อยู่ในปากเราเราไม่รู้สึกอะไร พอถ่มมันออกมาใส่มือแล้วเราอยากกลืนกินมันกลับเข้าไปไหม คงกลืนไม่ลง น้ำหนองจากแผล เลือดจากแผล น้ำมูก น้ำปัสสาวะ ถ้ามันไหลออกมาแล้ว เราอยากกินเข้าไปไหม ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ก็ออกมาจากร่างกายเรา เราก็รู้สึกได้ทันทีเลยว่ามันสกปรก แล้วสิ่งเหล่านี้มันอยู่ที่ไหนล่ะ มันออกมาจากไหนกัน มันก็อยู่ในร่างกายเรา ออกมาจากร่างกายเราเอง แล้วที่นี้ร่างกายเรามันสะอาด หรือ สกปรกกันแน่ล่ะ
เห็นคนหรือสัตว์ก็ตาม จงอย่าเห็นแต่เปลือก คือ มองแค่ผ้าผ่อน เครื่องประดับก็ว่าสวยเสียแล้ว ยังมองไม่ถึงหนังเลย นี่เป็นเรื่องของคนที่ไร้ปัญญา เป็นผู้หนาแน่นไปด้วยกิเสส ไม่ได้หาของจริง
ไฟ มีสภาวะร้อน คนที่เป็นไข้แล้วจับสั่น นั่นเพราะธาตุไฟมันหย่อนกำลังลง ธาตุไฟถ้ากำเริบก็ตัวร้อน ไม่ว่าธาตุใดๆมันก็เสื่อมตัวลงทุกวัน
ดังแพทย์แผนปัจจุบัน กล่าวไว้ว่า เซซลล์ต่างๆ มันตายไป แล้วก็มีตัวใหม่ๆเกิดมาทดแทน ถ้ายังเด็ก ก็ยังไม่ค่อยจะเสื่อม ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะเห็นชัด ว่า ตัวที่ตายไปมันมากกว่าตัวที่เกิดมาทดแทน
ร่างกายจึงเริ่มเสื่อมโทรมลง ความเปล่งปลั่งของร่างกายมันเริ่มหมดไป เหลือแต่ความเหี่ยวแห้ว แก่ชรา
ให้ดูตามความเป็นจริงว่า ของเก่าหมดไป ของใหม่เกิดทดแทน สืบต่อเนื่องไม่ขาดสาย แต่น้อยลงๆทุกที เรียกว่า สันตติ อันนี้เป็น วิปัสนาญาณแล้ว ให้มองตามจริงว่าร่างกายส่วนไหนบ้างที่มันสะอาด เหมือนถุงสวยๆที่เขาเอา ขยะ ของสกปรกต่างๆใส่ไว้ ผูก หัวผูกท้ายไว้อย่างดี เราก็เลยหลงคิดว่าถุงนี้สดสวย และสะอาด แต่พอเปิดปาก เปิดตูดถุงออก สิ่งสกปรกท้งหลายก็จะหลั่งไหลออกมา เราจึงเห็นและรู้สึกรังเกียจ
พระท่านบอกว่า ให้ดูกายของเราเป็นสำคัญ แล้ว เปรียบเทียบกับกายคนอื่น กายเรามีความสกปรกหลั่งไหลออกมาตรงไหน อย่างไร กายคนอื่นก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะสวย จะหล่อแค่ไหน ก็เพียงเปลือกนอกเท่านั้น ข้างในเหมือนกันหมด มองให้ทะลุไปถึงเนื้อ ถึงอวัยวะข้างใน ว่ามีส่วนไหนบ้างที่สวยงาม
แล้วพิจารณาว่า กายมันก็มีสภาพเป็นอย่างนี้ มีส่วนไหนที่เราบังคับมันได้ ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้เจ็บป่วย ไม่ให้พัง ไม่ให้สกปรก ก็จะเห็นว่ามันไม่ยอมตามใจเรา ก็เพราะมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สิ่งที่มันต้องเป็นคือ
อนิจจัง ไม่เที่ยง
เต็มไปด้วยความทุกข์ เมื่อมันเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ทุกข์เพราะหิว ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ให้เห็นว่า ร่างกายนี้ไม่อาจทรงสภาพเดิมได้ตลอดไป เดินเข้าไปหาความตายทุกวัน ในที่สุดมันก็พัง เราก็ไม่สามารถควบคุมมันได้ ใช้การอะไรไม่ได้
ให้พิจารณาว่า มันไม่ใช่เรา มันไม่ทรงตัว ไม่ใช่ของเรา แล้วเรายังจะอยากได้ร่างกายผู้อื่นเข้ามาประคองกอดรัดอีกเพื่ออะไร เพื่อให้มาเป็นของเราอีกหรือ ร่างกายเรา ร่างกายเขามันต่างก็พังไปด้วยกัน สกปรกเหมือนกัน ให้ใจเราวางในร่างกายเสีย เพราะร่างกายนี้มันสกปรก ทำความรู้สึกรังเกียจร่างกายเสียให้หมด โดยเฉพาะร่างกายเรานี่แหละ ว่าร่างกายเลวๆแบบนี้ เราไม่ต้องการมันอีก ถ้าเรารังเกียจร่างกายเราเสียแล้ว เราก็จะรังเกียจ ร่างกายผุู้อื่นด้วย
เป็นอันว่าความปราถนาในร่างกายจะต้องไม่ให้มีอีกต่อไป คิดอย่างนี้ให้เป็นปกติ บ่อยๆ ค่อยๆคิด ในที่สุดมันจะทรงตัว คิดได้บ้าง แพ้มันบ้างเป็นธรรมดา แต่ในที่สุดเราก็จะต้องชนะมัน มีจิตทรงตัวเป็น เอกัคคตารมณ์ นี่อารมณ์เป็น ฌาณ
ให้ฝึก อาณาปานุสสติกรรมฐานเข้ามาช่วย ให้มีอารมณ์ทรงตัวไว้ เมื่อคลาย สมาธิออกมาก็พิจารณาตามนี้ เมื่อจิตเริ่มฟุ้งซ่านก็กลับเข้าจับ อานาปานุสสติใหม่ สลับไปมาอย่างนี้ ไม่ช้าก็จะเป็น เอกัคคตารมร์ พอจิตตั้งตรงดีแล้ว ความเป็นพระอริยเจ้าก็มาถึง