สมาธิ
หมายถึง ความตั้งใจมั่น สมาธินี้มีหลายระดับ คือ
ขณิกสมาธิ
แปลว่า การตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย มีความสามารถที่จะทรงอารมณ์สมาธิได้เพียง ชั่วขณะ เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็ฟุ้งซ่าน เผลอคิดนู่นคิดนี่ไปเรื่อย อารมณ์จิตยังไม่พบเห็นความสว่างไสว เป็นอารมณ์ปกติของคนทั่วไป ที่เริ่มทำสมาธิใหม่ๆ ภาวนาไปได้นิดนึง ก็เผลอไปคิดนู่น คิดนี่ เสียจนเพลิดเพลิน
อุปจาระสมาธิ
แปลว่า การตั้งใจมั่นได้ในระดับปานกลาง มีความสามารถทรงอารมณ์สมาธิได้นานพอสมควร มีอารมณ์สว่างไสวพอใช้ได้ เริ่มใช้ในการฝึกทิพย์จักขุญาณได้
เมื่อเข้าถึง อุปจาระสมาธิจะมีอาการดังนี้
1. วิตก มีการกำหนดจิตนึกถึงในคำภาวนา หรือ ภาพที่เราใช้ฝึก อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลาพอสมควร
2. วิจาร มีการใคร่ครวญถึง คำภาวนา หรือ ภาพที่เราใช้ฝึก ว่ามีอาการเป็นอย่างไร เคลื่อนไหว หรือ หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง พินิจพิเคราะห์ตามไปตลอดเวลา
3. ปีติ เกิดมีเกิดมีความรู้สึก อิ่มเอิบใจ ไม่เบื่อหน่ายในการทำสมาธิ ไม่อยากหยุด ไม่อยากเลิก อารมณ์ผ่องใส สว่างอาจเห็นภาพแสงสีต่างๆแต่ไม่นานนักก็หายไป ยังมีสิ่งที่ควรรู้คคือ อาการของปีติ มี 5 อย่าง คือ
1. ขนลุกขนชัน หรือ ขนพองสยองเกล้า
2. น้ำตาไหล อยู่ดีๆก็ไหลออกมาเอง ด้วยความสุข
3. ร่างกายมีอาการโยก โคลงไปมา หรือ เอียงข้าง หรือหมุน
4. รู้สึกว่าร่างกายลอยขึ้น บางรายอาจลอยไปได้ไกล บางรายลอยสูง
5. มีอาการซู่ซ่า บางรายรู้สึกร่างกายโปร่ง บางรายรู้สึกร่างกายหนาหนักแน่น บางรายรู้สึกร่างกายใหญ่โต
อาการของปีติทั้ง ห้าอย่างนี้ อาจเกิดบางอย่าง หรือ หลายอย่างก็ได้ ไม่แน่นอนนัก แต่มีจุดสังเกตุคือ จะมีอารมณ์จิต ชุ่มชื่น เบิกบาน มีความสุข มีจิตแนบแน่นในสมาธิ ไม่หวั่นไหว
4. สุข มีความสุขชื่นบาน รื่นเริงหรรษา มีสมาธิตั้งมั่นมาก ไม่รู้สึกถึงอาการปวดเมื่อย ยุงกัดก็ไม่เจ็บ มีความสว่างไสวในทางจิตใจ
ฌาณ
แปลว่า การเพ่ง คือ การเพ่งอารมณ์ในกรรมฐานที่เรากำลังทำอยู่นั้น
มีอยู่ด้วยกัน 8 ขั้น คือ รูปฌาณ ขั้นที่ 1-4 และ อรูปฌาณ อีก 4 ขั้น รวมเป็น 8
จะได้อธิบายละเอียดในเรื่องของ ฌาณในบทต่อๆไป